อุปกรณ์เสริมคือ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ดูแล แพทย์ พยาบาล รวมถึงตัวผู้ป่วยเองด้วย การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนั้นเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมในการรองรับผู้ป่วย “เตียงผู้ป่วย” เป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นในโรงพยาบาล รวมถึงผู้ป่วยที่สามารถเคลื่อนย้ายเพื่อไปดูแลที่บ้านก็ควรที่จะใช้เตียงที่เหมาะสม เพราะเตียงราบแบบที่คนปกตินอนนั้นจะทำให้การเคลื่อนที่ของผู้ป่วยลำบาก แถมยังมีผลกระทบต่อผู้ดูแลอีกด้วย มาดูกันว่าอุปกรณ์เสริมชิ้นนี้มีประโยชน์อะไรบ้าง
ประโยชน์ของเตียงผู้ป่วย
เตียงผู้ป่วยมีประโยชน์หลายอย่างเลยค่ะ แต่หลักๆ แล้วการพักผ่อนของผู้ป่วยนั้นคือเรื่องสำคัญ เตียงผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้ดีกว่าเตียงธรรมดา โดยมีฟังก์ชั่นในการปรับให้ชัน สำหรับขึ้นทานข้าวทานยาได้สะดวก และมีล้อที่ไว้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้สะดวกมากขึ้น เตียงผู้ป่วยจะมี 2 แบ่งได้แก่ แบบมือหมุน และเตียงผู้ป่วยแบบไฟฟ้า ซึ่งประโยชน์ของเตียงผู้ป่วยไฟฟ้านั้นจะสะดวกสบาย ทุกอย่างจะบังคับโดยปุ่มกดที่ทำได้ด้วยระบบไฟฟ้าเลย ไม่ต้องใช้มือหมุน นั่นก็หมายถึงเตียงผู้ป่วยจะมีประโยชน์ในการลดการออกแรงนั่นเองสะดวกสบายสำหรับผู้ดูแลและตัวผู้ป่วยเองด้วยค่า
การเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย
เรามีสิ่งที่ต้องคำนึงก็คือ คนดูแลผู้ป่วยมีความแข็งแรงมากน้อยขนาดไหน ในการที่จะเคลื่อนย้ายร่างกายผู้ป่วยยกตัวผู้ป่วยในลุกขึ้นนั่งทานข้าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้กำลังเยอะมาก เพราะในบางเคสที่ผู้ป่วยอาจจะช่วยเหลือตัวเองได้ไม่มากนั้น ผู้ดูแลจำเป็นต้องใช้แรงเยอะมากให้การประคอง เทคโนโลยีนั้นมีทางออกเสมอ เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า จะช่วยลดภาระได้มากทีเดียวแต่ก็ต้องคำนวนถึงงบประมาณและการใช้งานด้วยนะคะ เพราะว่าเตียงที่มีฟังชั่นเยอะก็จะมีราคาสูงตามไปด้วย และสุดท้ายสำคัญที่สุดคือเตียงผู้ป่วยควรเลือกที่มีล้อเพื่อการเคลื่อนย้ายได้สะดวกรวดเร็วในกรณีต่างๆ ค่ะ
นอนผู้ป่วย
นอกจากเตียงแล้วที่นอนสำหรับเตียงผู้ป่วยยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญด้วยนะคะ
การเลือกที่นอนสำหรับเตียงผู้ป่วยนั้นควรคำนึงถึงสุขภาพการนอนของผู้ป่วยเป็นสิ่งแรก ระยะเวลาความยาวนานในการอยู่บนเตียงของผู้ป่วยนั้นเป็นที่ควรนึกถึงค่ะ เพราะระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องอยู่บนเตียงไม่สามารถขยับเขยือนตัวได้ไม่มากนักนั้นอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ
แผลกดทับคืออะไร
การที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนังที่ได้รับความเสียหายซึ่งเกิดจากแรงกดทับที่มากกว่าปกติ ถูกกดกับเป็นเวลานานทำให้ผิวหนังรวมถึงเนื้อเยื้อภายในถูกบีบอัดอยู่ตลอดเวลานั่นเองค่า รวมถึงการไหลเวียนของเลือดไม่สะดวกเท่าที่ควรนัก และขาดออกชิเจนกับสารอาหารที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ อาจจะส่งผลให้เนื้อเยื้อผิวหนังตายได้ค่ะ นอกจากการกดทับแล้ว ความชื้นและความร้อนสูงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แผลกดทับใหญ่และลึกขึ้นอีกด้วยนะ
ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดแผลกดทับ
ปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ ประกอบด้วย
- แรงกดทับบนเนื้อเยื่อ (Pressure)
- แรงเสียดทานและแรงเฉือนในเนื้อเยื่อ (Friction & Shear Force)
- ท่าทางในการนอนของผู้ป่วย (Positioning)
- ความชื้นที่มากเกินไป (Excessive moisture)
- ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition)
ผู้ป่วยหนัก หรือ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยชรา จำเป็นต้องอยู่บนเตียงเป็นเวลานานนั้นเสี่ยงต่อการเป็นโรคแผลกดทับอย่างมากค่ะ ผู้ดูแลควรมั่นพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อการขยับร่างกายไม่ให้จมและกดทับอยู่ในจุดเดิมมากเกินไป แต่การพลิกตัวนั้นอาจจะไม่ดีพอควรมีอุปกรณ์ช่วยเหลือนะคะ
อุปกรณ์ในการลดอาการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 2 อย่างได้แก่ ที่นอนลมสลับลอน และที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ
การเลือกที่นอนทั้งสองแบบนั้นควรศึกษาทำความเข้าใจให้ดี เกี่ยวกับวัสดุและการทำงานของอุปกรณ์เสริมนี้ อย่างเช่น ที่นอนโฟมป้องกันแผลกดทับ ควรจะเลือกวัสดุที่ดี โฟมที่เหมาะสม เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน และเหมาะสมกับผู้ป่วย ส่วนของที่นอนลมสลับลอนควรเลือกที่มีระบบเทคโลโลยีใหม่ๆ เพื่อช่วยในการกระจายแรงกดทับได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างของที่นอนผู้ป่วยคุณภาพดีควรมีระบบ Tri Cell Alternating ของที่นอนลมแบบสลับลอน
ระบบกระจายแรงกดทับ Tri cell alternating สามารถกระจายแรงกดทับชนิดพิเศษ โดยการสลับการพองยุบของลอนที่นอนต่อเนื่อง 3 cell คือ พอง 2 ลอน ยุบ 1 ลอนช่วยกระจายและลดแรงกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 25% รวมทั้งมีระบบระบายความอากาศลดความอับชื้นเรียกว่า Low Air Loss คุณภาพดีเยี่ยม
นอกจากรุ่นที่นำมาเล่าสู่กันฟังในบทความนี้ เรายังมีอีกหลายรุ่นจำหน่าย หากสนใจ ขอข้อมูล คำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ค่ะ
ร้าน MEDA BY Chulabhesaj จำหน่ายสินเค้าประเภทอุปกรณ์ทางการแพทย์ ดูแลสุขภาพ
สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง LINE : medamedical
ที่ตั้ง 942 12-13 ถนนพระรามที่ ๔ แขวง สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
เบอร์โทรศัพท์ 085 126 5999
หากท่านต้องการคำปรึกษาเรื่องการใช้ยา หรือสั่งซื้อ สามารถติดต่อที่ ร้านจุฬาเภสัช ได้ที่ Line id : @chulabhesaj
ที่ตั้ง 942, 25 ถนนพระรามที่ ๔ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
เบอร์โทรศัพท์ 02 234 1297